โรคสมาธิสั้น
โรคสมาธิสั้น อาการที่ควรพิจารณาว่าเด็กผิดปกติหรือไม่ - เด็กวอกแวกง่าย นั่งหยุกหยิก หยิบโน่นจับนี่ตลอด - ชอบชวนเพื่อนคุย และลุกไปโน่นมานี่บ่อย ๆ - ซน เล่นมาก เกิดอุบัติเหตุง่าย - ชอบแซงคิวบางทีก็ชอบขัดจังหวะหรือสอดแทรกขณะที่เพื่อนๆกำลังเล่นกันอยู่ - ทำงานไม่เสร็จเป็นชิ้นเป็นอัน - ใจร้อน วู่วามง่าย ทำอะไรแบบปุบปับและรุนแรง - ทำผิดกฎระเบียบบ่อย ๆ - หุนหันพลันแล่น จนถูกมองว่าเป็นเด็กดื้อ ก้าวร้าว - ชอบก่อความวุ่นวายและไม่เชื่อฟัง วิธีดูแลลูกซนสมาธิสั้น ถ้าใครไม่มีลูกซนสมาธิสั้นคงจะไม่เข้าใจว่า “ซนยิ่งกว่าลิง มันเป็นอย่างไร” บางครั้งเวลาผมตรวจคนไข้ดังกล่าวในเวลาแค่ชั่วโมงเดียวยังรู้สึกว่าอยากจะ จับคนไข้มาล๊อคติดกับเก้าอี้ตรวจเลยทีเดียวเพราะห้องตรวจมันกระจัดกระจายและ วุ่นวายไปหมด! นี่แค่เราเจอเจ้าตัวแสบแค่ไม่นานนะเนี่ยเรายังรู้สึกเหนื่อยเอาการ ถ้าเรา ต้องมีลูกแบบนี้ขอไม่มีซะดีกว่า ( ผู้เขียนยังโสดนะครับ ) ต้องขอยอมรับจริงๆว่าความผูกพันของพ่อแม่ลูกนั้นมันยิ่ง ใหญ่กว่าสิ่งใดทั้งหมดจริงๆ ถึงแม้ลูกจะเป็นอย่างไรพ่อแม่ก็ยังเลี้ยงลูกได้เสมอ วันนี้ขอปรบมือให้กับคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกซนสมาธิสั้นทุกคนที่ท่านอดทนดูแล เจ้าจอมยุ่งได้โดยตลอด อย่างไรก็ตามผมขอให้ความรู้เล็กๆน้อยๆเพื่อเป็นประโยชน์กับคุณพ่อคุณแม่บ้าง ไม่มากก็น้อย โรคซนสมาธิสั้นนั้น เชื่อว่าเกิดจากความผิดปรกติของสมองส่วนหน้าที่ปรกติแล้วจะมีกลุ่มของ cell ประสาทที่ทั้งสั่งงานให้กล้ามเนื้อของร่างกายทำงานเช่นขณะนี้สมองส่วนหน้า ของผมสั่งให้ผมพิมพ์แป้น computer เป็นต้น ขณะเดียวกันก็จะมี cell ประสาทของสมองส่วนหน้าอีกกลุ่มหนึ่ง(Inhibitory neurons)ทำหน้าที่กลั่นกรองยับยั้งไม่ให้ cell กลุ่มแรก ทำหน้าที่อยู่ตลอดเวลามากเกินไป เช่นขณะที่ผมพิมพ์แป้น computer อยุ่ถ้ามีเสียงรถวิ่งผ่าน ผมก็จะรับรู้ได้แต่จะไม่ ถึงกับเสียสมาธิลุกไปดูจนงานของผมเป็นอันไม่เสร็จกัน หรือถ้ามีใครเปิดTVผมก็จะรับรู้แต่ไม่ถึงกับต้องเสียสมาธิไปดูจนไม่ต้องทำ งานต่อกัน อีกตัวอย่างหนึ่งที่เห็นชัดคือ สมมติว่ามีใครมาแกล้งหยอกโดยพูดล้อเล่นธรรมดา คนปรกติทั่วไปอย่างมากก็แค่โกรธและด่ากลับแต่จะไม่ถึงกลับชกเปรี้ยงเข้าให้ โดยไม่พูดพล่ามทำเพลงซึ่งเกิดจากการควบคุมของ Inhibitory neurons นั่นเอง เด็กที่เป็นโรคซนสมาธิสั้นนั้น มีความผิดปรกติของสมองส่วน Inhibitory neurons นี้จึงทำให้ขาดความ ยับยั้งชั่งใจ ขาดสมาธิ ทำให้ถูกดึงความสนใจได้ง่าย ทำงานอะไรก็ไม่เสร็จ เรียนหนังสือไม่ได้ หรือมักจะซนมากๆ ไม่กลัวจะเกิดอุบัติเหตุเอาเสียเลย หรือมักจะทำร้ายเพื่อนบ่อยๆจนถูกกล่าวหาว่าเป็นเด็กเกเร มีการศึกษาที่น่าสนใจของต่างประเทศว่าเมื่อนำกลุ่มนักโทษ หรือกลุ่มเด็กอันธพาลข้างถนนที่ถูกจับมาศึกษาพบ ว่ามีประวัติในวัยเด็กว่าเป็นโรคซนสมาธิสั้นอยู่ เปอร์เซ็นต์สูงทีเดียว! ดังนั้นถ้าคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกซนสมาธิสั้นถ้าขาดความเข้าใจในตัวเด็กแล้วจะ ทำให้เด็กกลุ่ม นี้สร้างปํญหาในสังคมได้ในอนาคต วิธีการดูแลเด็กกลุ่มนี้อาศัยการรักษา 2 อย่างเป็นหลักคือ การให้ยารักษาและการปรับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ การใช้ยานั้นจะใช้ยาที่เรียกว่า Methylphenidate ( Ritalin ) ซึ่งจะต้องอยู่ในความควบคุมของแพทย์เท่านั้น ยานี้มีผลข้างเคียงคือ เด็กจะดูเซื่องซึมมากจนคุณพ่อคุณแม่บางคนตกใจและไม่ยอมใช้ยาต่อซึ่งจริงๆ แล้วแม้เด็กจะซึมลงแต่ก็จะมีสมาธิมากขึ้นจะเป็นผลดีกับเด็กในด้านการเรียน และช่วยลดพฤติกรรมวุ่นวายของเด็กลง จึงขอแนะนำให้ใช้ยาต่อตามแพทย์สั่งนะครับ นอกจากนี้เด็กอาจมีอาการปวดท้องน้ำหนักลดได้ซึ่งก็ต้องอยู่ในการดูแลของ แพทย์อย่างใกล้ชิด การรักษาที่มีความสำคัญอันยิ่งยวดไม่แพ้กันก็คือ การปรับพฤติกรรมไม่พึงประสงค์( behavior modification ) ซึ่งมีคร่าวๆดังนี้คือ 1.จัดเวลาทำการบ้านให้กับเด็กโดยค่อยๆ เพิ่มจากน้อยมามากเช่น 20 นาที ถ้าทำได้ก็ ค่อยๆเพิ่มเวลาเป็น 30 นาที 45 นาที 1 ชั่วโมงเป็นต้น ขณะที่ทำการ บ้านก็งดสิ่งรบกวนทั้งหมดเช่นห้ามเปิด TV ห้ามพี่น้องคนอื่นมาเล่นของเล่นให้เห็น อาจให้เด็กเลือกว่าจะเล่นก่อนทำการบ้าน หรือทำการบ้านแล้วค่อยเล่นก็ได้ ถ้าเด็กทำได้ก็ให้คำชมเชยถ้าเด็กดื้อไม่ทำตามข้อตกลงก็ต้องมีการลงโทษซึ่ง รายละเอียดให้ปรึกษาแพทย์ครับ 2. จัดกิจกรรมที่อาศัยการเคลื่อนไหวที่ไม่เป็นอันตรายต่อของในบ้านเช่นการให้ เด็กถูห้อง การกวาดห้องเพื่อให้ได้เคลื่อนไหว ร่างกายบ้างและอย่าลืมชมเชย เมื่อทำสำเร็จเพื่อสร้างความภูมิใจกับเด็กครับ 3. เก็บของที่มีค่าทั้งหลายทีจะเสียหายได้ง่ายเช่นเครื่องแก้ว( ประจำตระกูล ) ให้มิดชิดเช่นใส่กุญแจล๊อคในตู้ไว้มิฉะนั้นถ้าเด็กซนจนเสียหายท่านจะมี อารมณ์กับเด็กเปล่าๆซึ่งจริงๆแล้วไม่ใช่ความผิดของเด็กเลยเพราะเด็กขาดความ ยับยั้งชั่งใจนั่นเอง 4.จัดบ้านให้เรียบร้อยเพื่อลดอุบัติเหตุถ้าเด็กซน ( ทำ5ส เลยยิ่งดีครับ ) 5.ปรึกษาและคุยกับคุณครูเพื่อให้เข้าใจเด็กและนำจดหมายแนะนำจากแพทย์ให้กับคุณครูเพื่อเป็นแนวทางในการควบคุมพฤติกรรมเด็ก 6. หลีกเลี่ยงการไปในที่ที่มีความวุ่นวายมากและต้องการสมาธิเช่นโรงหนังเพราะเด็กจะทำให้คุณพ่อคุณแม่ปวดหัวเปล่าๆ 7. ข้อสุดท้ายคือต้องเข้าใจเด็กว่าเด็กไม่ได้แกล้งซนแต่เป็นเพราะขาดความ ยับยั้งชั่งใจจริงๆคุณพ่อคุณแม่ต้องเข้าใจและให้กำลังใจเด็กเสมอและควรส่ง เสริมการออกกำลังกายโดยที่คุณพ่อคุณแม่ควรมีเวลาออกกำลังกายกับเด็กด้วย เพื่อสร้างความรักความผูกพันกันครับ เด็กสมาธิสั้น ( Hyperactive) หมายถึง เด็กที่ซนมากไม่อยู่นิ่ง แยกได้ 2 กลุ่มคือ 1. มีปัญหาเรื่องสมาธิบกพร่อง เช่น มีความลำบากในการฟังคำสั่งยาวๆ มีความลำบากในการทำงานหรือเล่นกิจกรรม อุปกรณ์การเรียนสูญหายบ่อย สนใจในสิ่งเร้าที่ไม่สำคัญ ขี้ลืม มักทำของหาย เหม่อลอย ช่างฝัน ลำบากในการทำกิจกรรมที่ต้องใช้สมองเป็นเวลานาน 2. อาการหุนหันพลันแล่นจนขาดความยับยั้งชั่งใจ ซึ่งมีลักษณะคือ ไม่รู้จักระวังตัวเอง ลุกออกจากที่นั่งบ่อย ชอบวิ่งหรือปีนป่าย พูดคุยมากเกินไป มีความลำบากในการเล่นคนเดียว ลุกลี้ลุกลน อารมณ์ร้อนแปลี่ยนแปลงง่าย ขาดความอดทน ชอบพูดขัดจังหวะ รบกวน ช่างฟ้อง สาเหตุส่วนใหญ่ มาจาก ลักษณะถ่ายทอดทางพันธุกรรมในเรื่องของสารเคมีในสมองหรือระบบประสาทและ สภาพแวดล้อมก็เป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่ง ดนตรีช่วยแก้ปัญหาเด็กสมาธิสั้นได้จริงหรือ ? ดนตรีมีประโยชน์มากมาย การฟังดนตรีทำให้เราผ่อนคลาย เพลิดเพลิน มีความสุข หากเราได้เล่นดนตรีก็ยิ่งเป็นการปลดปล่อยความเครียดที่ฝังอยู่ตามกล้ามเนื้อ และเซลล์ประสาทให้ออกมากับการเล่นดนตรี ทำให้อารมณ์ดีขึ้น สามารถควบคุมอารมณ์ต่างๆ ได้ดีขึ้น ส่งผลให้ความเฉลียวฉลาดทางอารมณ์ EQ สูงขึ้น และเมื่อเด็กเรียนดนตรี เด็กจะมุ่งความสนใจไปที่เสียงดนตรีที่ตนเองสามารถทำให้เกิดขึ้นได้ เด็กจะเกิดความภาคภูมิใจในความสามารถของตนเอง และอยากจะเล่นดนตรีต่อไปเพื่อให้เกิดเสียงที่ไพเราะขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเด็กจดจ่ออยู่กับเสียงดนตรีที่ตนเองสร้างขึ้น ช่วงความสนใจของเด็กก็จะเพิ่มมากขึ้นทีละนิด ขี้นอยู่กับทำนองเพลงที่เด็กฝึกหัด เมื่อเริ่มแรกเด็กอาจฝึกหัดเพลงพื้นฐานสั้นๆ ช่วงความสนใจของเด็กอาจอยู่ในเวลา 1-2 นาที ลำดับต่อไปเด็กได้ฝึกเพลงที่มีความซับซ้อนมากขึ้นทีละนิด เด็กก็จะมีช่วงของความสนใจเพิ่มขึ้นเป็น 3-5 นาที และจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หากเด็กชอบและรักที่จะเล่นดนตรี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกำลังใจที่ครูผู้สอนและพ่อแม่ผู้ปกครองจะกระตุ้นให้เด็กเกิดความสนใจในดนตรีมากขึ้น การเสริมแรงจากครูและพ่อแม่ผู้ปกครอง เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งยวดที่จะทำให้เด็กเพิ่มความสนใจในดนตรี และจะทำให้ช่วงความสนใจของเด็กเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลไปสู่การเรียนในห้องเรียน การทำการบ้าน การอ่านหนังสือ หรือการทำสิ่งต่างๆ จากที่โรงเรียนดนตรีบ้านเก่งขิมได้สอนเด็กที่มีอาการเข้าข่ายสมาธิสั้น หรือมีช่วงความสนใจต่อสิ่งต่างๆ น้อยมาก เมื่อมาเรียนขิม เด็กหลายคนมีสมาธิดีขึ้น มีสภาวะอารมณ์ที่ดีขึ้น มีการระบายอารมณ์ออกมาในเสียงเพลงที่ตนบรรเลง ทำให้เด็กผ่อนคลายและเกิดสมาธิในการบรรเลงขิม ส่งผลให้การเรียนในห้องเรียน หรือการทำกิจกรรมต่างๆ ของเด็ก ประสบความสำเร็จมากขึ้นตามลำดับ คุณพ่อคุณแม่หรือท่านผู้ปกครอง จึงควรหันมามองบุตรหลานของท่านสักนิด ว่าเด็กมีอาการใกล้เคียงเด็กสมาธิสั้นหรือไม่ หากใกล้เคียงควรปรึกษาแพทย์ หรือส่งเสริมให้เด็กเรียนดนตรี ศิลปะ ร้องเพลง เต้นรำหรือนั่งสมาธิ เพราะกิจกรรมเหล่านี้จะทำให้เด็กมีสมาธิเพิ่มมากขึ้น และหลีกเลี่ยงการให้เด็กดูโฆษณา ที่มีภาพเคลื่อนไหวเปลี่ยนไปมารวดเร็ว เนื่องจากภาพเหล่านั้นจะไปกระตุ้นสมองทำให้เด็กมีภาวะสมาธิสั้นได้ง่าย อาการสมาธิสั้นสามารถบำบัดรักษาให้ดีขึ้นได้ เพียงแค่พ่อแม่ผู้ปกครองต้องให้ความเอาใจใส่กับเด็ก พูดคุย ซักถาม ให้เวลาในการทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันกับเด็ก ไม่ดุว่าหรือตี เพราะจะทำให้เด็กจดจำประสบการณ์ที่ไม่ดี และเด็กจะไม่เข้าใจว่าเขาทำอะไรผิด เนื่องจากอาการต่างๆ มาจากความผิดปกติของสมองหรือสารเคมีของร่างกาย ซึ่งตัวเด็กเองไม่สามารถควบคุมได้ พ่อแม่ผู้ปกครองและครูจึงเป็นบุคคลที่สำคัญที่สุดที่สามารถช่วยให้เด็กมี อาการดีขึ้นหรือหายขาดได้เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ |
โพสเมื่อ :
12 ก.พ. 2557,23:27
อ่าน 1074 ครั้ง
|